เด็กน้อยวัย 6 ขวบ เป็นวัยที่กำลังน่ารัก และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้ว่า พัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ นั้นเป็นอย่างไร ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าวัยนี้เป็น วัยแห่งการเปลี่ยนแปลง มีความพร้อมทั้งด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่รั้วโรงเรียนได้แล้ว คุณแม่จึงมักจะเห็นบทบาทใหม่ ๆ ของเขาบ่อย ๆ ตลอดการมีพฤติกรรมเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นจาก ละคร การ์ตูน หรือพฤติกรรมของคนรอบข้าง วันนี้เราเลยจะพาคุณแม่ คุณพ่อมือใหม่ไปดูพัฒนาการเด็ก 6 ขวบ กันว่าเป็นอย่างไร ลูกน้อยของคุณแม่ในวัยนี้มีพัฒนาการที่สมวัยหรือไม่ พร้อมแล้วเราไปเช็กกันเลยดีกว่าว่าพัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ เป็นอย่างไร
พัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ เป็นอย่างไร
เด็กวัย 6 ขวบ เป็นวัยที่มีความน่ารัก ช่างเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่สามารถเรียนรู้ได้เร็ว และเรียนรู้ได้ง่าย ซึ่ง พัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ ที่คุณพ่อ และคุณแม่จะต้องรู้ เพื่อการเรียนรู้ และการเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีดังต่อไปนี้
1.พัฒนาการ ทางด้านร่างกาย
เมื่อเข้าสู่อายุ 6 ขวบ จากเด็กวัยหัดเดินจะเปลี่ยนไปเป็นเด็กวัยประถมในวัยนี้จะมีฟันขึ้นครบทุกซี่ แขน ขา เริ่มยาว สูงขึ้น และค่อย ๆ เติบโตขึ้นทุกวัน พัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบด้านร่างกายในช่วงนี้เด็กสามารถเติบโตเฉลี่ย 2 ถึง 2.5 นิ้วต่อปี และน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.8-3 กิโลกรัมต่อปี เด็ก ๆ ในวัย 6 ขวบจะเริ่มมีทักษะทางกายภาพ มีศักยภาพทางด้านกีฬา เช่น เตะฟุตบอล ไอซ์สเก็ต ว่ายน้ำ เทควันโด ฯลฯ วัย 6 ขวบ กล้ามเนื้อมัดเล็กพร้อมบังคับให้จับดินสอได้แล้ว มีความชำนาญในการเขียนการวาดรูปมากขึ้น และรูปภาพที่วาดเป็นเรื่องราว เข้าใจ และมีตัวหนังสือที่อ่านง่ายขึ้น สามารถใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นรูปทรง การผูกเชือกรองเท้าได้เอง การเดินทรงตัวดี
2.พัฒนาการ ทางด้านภาษาและสติปัญญา
ช่วงวัย 6 ขวบ เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับพัฒนาการด้านภาษาการฟัง พูด อ่าน เขียนพัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ พวกเขารู้เรื่องพอที่จะพูดสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยประโยคที่เรียบง่าย เข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูด ดังนั้นการใช้ภาษาของพ่อแม่จึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะเรียนรู้จากผู้ใหญ่และนำมาปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นการ พูด เขียน ตลอดจนการมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ด้วย ทักษะการใช้ภาษาที่เพิ่มขึ้นทำให้เด็ก ๆ สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก หรือสิ่งที่พวกเขาคิด การพูดโกหก อาจจะเกิดขึ้นในวัยนี้ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นในวัยนี้คุณพ่อ คุณแม่ควรฝึกทักษะเรื่องภาษาให้ลูกโดยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง การท่องคำศัพท์ การสะกดคำ พวกเขาจะสามารถเรียนรู้และจดจำได้เร็วมาก ๆ
3.พัฒนาการ ทางด้านสังคมและอารณ์
เด็ก 6 ขวบ เป็นช่วงวัยที่กำลังปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่สังคมขนาดใหญ่ขึ้น ต้องเจอกับคนที่มีอายุมากกว่าเป็นส่วนใหญ่ สังคมที่แปลกใหม่จะทำให้พัฒนาการของเขาเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ในทางสังคมกับเพื่อนและผู้ใหญ่จะมีความซับซ้อน และมีความหมายมากขึ้น เช่น รู้ว่าเด็กผู้ชายมักจะเล่นกับเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิงเล่นกับเด็กผู้หญิง ไม่ทำร้ายความรู้สึกของใคร รู้จักปลอบโยนเพื่อน มีการแสดงออกด้วยอารมณ์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการยอมรับจากคนรอบข้าง และพวกเขาก็พร้อมที่จะปรับตัวในสังคมอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
วิธีเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กวัย 6 ขวบ
คุณแม่สามารถพัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ ได้หลากหลายวิธี การเรียนรู้ผ่านการเล่นจะช่วยสร้าง พัฒนาการเด็ก 6 ขวบได้อย่างเป็นธรรมชาติ การมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันอย่างเหมาะสมก็สามารถเสริมพัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ ได้ดีมาก ๆ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยวิธีการเสริมพัฒนาการเด็กวัย 6 ขวบ อย่างเหมาะสมสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- เล่นกีฬากลางแจ้ง กิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในบ้าน การเที่ยวเล่นข้างนอก การผจญภัย การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสวนสาธารณะ เช่น ขี่จักรยาน เล่นแบดมินตัน ว่ายน้ำ จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการออกกำลังเพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมวัยอีกด้วย
- ใช้เวลาว่างสร้างสรรค์ศิลปะ ศิลปะคือ กิจกรรมที่น่าสนใจ ช่วยให้ผ่อนคลาย เพลิดเพลินมีความสุข หากเป็นการวาดรูป ระบายสีจะทำให้คุณแม่ได้เห็นพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ดีของลูกน้อย การร้องเพลงช่วยให้มีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดี หรือเลือกกิจกรรมที่ลูกน้อยชื่นชอบจะช่วยเพิ่มพัฒนาการที่ดีได้อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว
- พูดคุยกับลูกให้เข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกกัน ให้ลูกรู้จักเรียนรู้การแก้ไขปัญหา และปลูกฝังเรื่องของการไม่รังแกผู้อื่น ตลอดจนการเอาตัวรอดเมื่อตกอยู่ในภาวะอันตราย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีในวัยเด็ก 6 ขวบ หากคุณพ่อ คุณแม่ท่านไหนที่กำลังมีลูกในวัยนี้ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการบ่อย ๆ เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งอย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถติดตามพัฒนาการของลูกน้อยจากผู้เชี่ยวชาญได้ด้วย และสามารถเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีด้วยวิธีต่าง ๆ ที่หลากหลายอย่างเหมาะสมได้ด้วยเช่นกัน
เรื่องอื่นๆที่เราแนะนำสำหรับคุณ